ประวัติบ้านหนองแวงไร่ หมู่ที่ 1
หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9
ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของบ้านหนองแวงไร่
หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 เพราะหมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9
ได้แยกออกจากบ้านหนองแวงไร่หมู่ที่ 1 ใน พ.ศ. 2453 ได้เกิดโรคห่า (โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ) ขึ้นที่บ้านเกิ้ง
ราษฎรต่างพากันอพยพครอบครัวหนีโรคห่ากันไปอยู่ที่อื่น ประมาณ 15 ครอบครัวได้อพยพมาอยู่บริเวณอันเป็นบ้านหนองแวงไร่อยู่ในขณะนี้
พอเวลาผ่านไปได้ 3 เดือน โรคห่าได้สงบลงราษฎรจำนวน 10 ครอบครัว ก็ได้อพยพกลับคืนไปยังบ้านเกิ้ง คงเหลืออยู่ 5 ครอบครัวเท่านั้น ต่อมา พ.ศ. 2454 ก็มีชาวบ้านเกิ้งอพยพออกมาอยู่ร่วมด้วยอีกรวมเป็น
20 ครอบครัว
ทั้งหมดก็กลายเป็นครอบครัวต้นตระกูลของชาวบ้านหนองแวงไร่สืบมา
จากนั้นมาก็มีครอบครัวและราษฎรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและได้เรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า
“บ้านหนองแวงไร่”
ตามลักษณะของภูมิศาสตร์ในขณะนั้นคือมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่รอบๆหนองนั้นมีต้นแวง (ต้นกก)
ขึ้นเต็มไปหมดและรอบๆ ที่เป็นเนินก็มีคนไปจับจองที่ทำไร่ ทำนา เต็มไปหมด
จึงเอาคำว่าหนองแวงไร่ เรียงกันเป็นชื่อบ้าน และยังขึ้นต่อบ้านเกิ้งเมืองชนบท (ถ)
ใน พ.ศ. 2454 ได้มีประกาศของเสนาบดีกระทรวงหาดไทย
โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพให้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองเป็นอำเภอ และจังหวัด มาใน
พ.ศ. 2457 ได้จัดการปกครองได้เป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
และจังหวัด คือถ้าชุชนใดมีตั้งแต่ 20
ครัวเรือนขึ้นไปให้ถือเป็นหมู่บ้านได้หรือหลายบ้านรวมกันแล้วมีราษฎร 100 คน รวมกันเข้าไปเป็นเขตปกครองก็ถือว่าเป็นหมู่บ้านได้ ดังนั้น พ.ศ. 2458
บ้านหนองแวงไร่ก็ได้เป็นหมู่บ้านและมีนายหล้าต่อ คำชู
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ใน พ.ศ. 2460 ก็มีนายพรมมา สุขเสริม
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สอง จากนั้นก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ ประชากรก็มีเพิ่มมากขึ้น
มาในพ.ศ. 2529 บ้านหนองแวงไร่ก็ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 มีนายสมนึก ชัยชิต เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่ที่ 8 ครั้นต่อมาใน พ.ศ. 2545 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 มีนายสำลี แก้วนา
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ของหมู่ที่ 9
บ้านหนองแวงไร่ทั้งหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ห่างออกไปประมาณ 4 กิโลเมตร ตาเส้นทางถนนเจนจบทิศ บ้านไผ่-หนองแวงโอง
มีพื้นที่ประมาณ 4.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,687.5 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จรดเขตพื้นที่บ้านหนองแวงโอง
ทิศใต้ จรดเขตพื้นที่บ้านหนองลุมพุก
และเขตเทศบาลตำบลบ้านไผ่
ทิศตะวันออก จรดเขตพื้นที่บ้านหนองรูแข้ ตำบลภูเหล็ก
ทิศตะวันตก จรดเขตพื้นที่บ้านเกิ้ง และบ้านหนองผือ
ตำบลบ้านไผ่
สิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับแหล่งน้ำและป่าไม้
บ้านหนองแวงไร่ ในอดีตนั้น มีหนองน้ำขนาดใหญ่มีป่าไม้นานาพันธุ์อุดมสมบูรณ์
แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว แหล่งน้ำได้ตื้นเขินไป
ป่าไม้ถูกทำลายไปหมดจึงนับว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
สมควรที่จะได้มีการปรับปรุงให้มีแหล่งน้ำและป่าไม้คืนมา
ประชากร
บ้านหนองแวงไร่
หมู่ที่ 1 มีครัวเรือน 365 ครัวเรือน เป็นชาย 730 คน เป็นหญิง 770 คน รวม 1500 คน
บ้านหนองแวงไร่
หมู่ที่ 8 มีครัวเรือน 165 ครัวเรือน เป็นชาย 384 คน เป็นหญิง 399 คน รวม 738 คน
บ้านหนองแวงไร่
หมู่ที่ 9 มีครัวเรือน 154 ครัวเรือน เป็นชาย 352 คน เป็นหญิง 728 คน รวม 1080 คน
ราษฎรทั้ง 3 หมู่มีอาชีพหลักในการทำนา
ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และรองลงมารับจ้างทั่วไป
การศึกษา ทั้ง
3 หมู่บ้านมีโรงเรียนประถมศึกษาประจำหมู่บ้าน
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นป.6 เมื่อจบแล้ว
ก็จะเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมที่โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบ้านไผ่ หรือเรียนสายอาชีพที่วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่
ศาสนา ทั้ง 3
หมู่บ้านล้วนนับถือศาสนาพุทธ ได้ร่วมกันสร้างวัดประจำหมู่บ้านหนึ่งวัด ชื่อว่า “วัดสว่างโนนเพียง” ใน พ.ศ. 2462
นอกจากนี้ยังได้ถือปฏิบัติตามฮีต 12 อยู่เสมอมมา
สาธารณูปโภค ประชาชนมีไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้านใช้
มีสถานีอนามัยตั้งอยู่ที่บริเวณบ้าน การคมนาคมก็นับว่าสะดวกดี
ผู้นำ/บุคคลสำคัญของหมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 ผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายหล้าต่อ
คำชู
คนปัจจุบัน นายธงชัย ชัยชิต
หมู่ที่ 8 ผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายสมนึก ชัยชิต
คนปัจจุบัน นายสำรวย ปัญญะ
หมู่ที่ 9 ผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายสำลี แก้วนา
คนปัจจุบัน นายสำลี แก้วนา
ประธานสภาวัฒนธรรม นายสมนึก ชัยชิต
ประธานเครือข่ายกองทุนเงินล้าน นายประสิทธ์ สุทธิประภา
คณะผู้ร่วมสืบค้นประวัติ
นายเสงี่ยม พร้อมพรั่ง นายสมนึก
ชัยชิต
นายสำลี แก้วนา นายเฉลิม
ก้านคำ
นายไสว ธรรมศรี
Nongwangrai History
Muang Pea
Village Banphai District of Khon Kaen Province were happened Cholera in 1910.
The local people called “infectiouo disease” as many people killed. Disease had
already spread to the Koeng Village Chonnaboot District of Khon Kaen Province.
Then somepeople of Koeng Village migrated to various disease and the population
of about 15 families were evacuated to the northeast of the village , a
distance of about five kilometers to a large swamp. That ideally suitable for
building homes and livelihood, They did it on their own and then settling in
the area and to hear the news of the outbreak of disease. With the hope that
somedays when stop disease outbreaking would not return to their own homeland.
Over time, about three months, the
news of the outbreak has calmed down. A change to the joy of immigrants, this group was very
significant. With representatives of about 10 families that migrated back Koeng
Village later about five families are settling in to they property is transferred
to the one year later with repersentatatives from Koeng immigrants were joined
by another. A tolal of 15 families and 20 families in this area because of the
abundant resources. The families and the population increased a lot in the next
few years.
When people Knew that the number of
households increased enough, then listened to the name of this village is
“Nongwaengrai” as the area was assumed to be coming near the swamp with the
longitude and more numerous and pus around the farm a lot.
Nongwaengrai Village, Located about 4 miles north of
Banphai district, is adjacent to the village. North to Nongwang Ong Village.
South stretch NongLumphuk. East abutting municipality Banphai,Nongrookae
village,and Khokdoen village at Poo lek District. West Koeng village and Nong
pue village Banphai District.